วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โลกศึกษา

โลกศึกษา  เป็นการศึกษาความเข้าใจ  เกี่ยวกับการพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชน  การพัฒนาที่ยั่งยืน  สันติภาพ  การป้องกันความขัดแย้ง  และการศึกษาระหว่าง  วัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นพลเมืองโลก

*****   โลกศึกษา  เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงลึก  ทั้งด้านพื้นฐานความคิด  ความรู้สึก  และการกระทำที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  การเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์  ความเสมอภาคเท่าเทียม  ความยุติธรรมในสังคม  ความเข้าใจกันระหว่างมนุษย์ …..*****    โดยมีขั้นตอนหลักในการเรียนรู้เชิงการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับโลกศึกษาคือ…..1. การวิเคราะห์สถานการณ์โลกปัจจุบัน2. วิสัยทัศน์ในการกำหนดทิศทาง  หรือพัฒนาหารูปแบบวิธีการในการแก้ปัญหา3. กระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งสู่ความเป็นพลเมืองโลกที่รับผิดชอบ


*****   การจัดการเรียนรู้ เน้นกระบวนการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้เรียนมีความตระหนักรู้ในตนเองร่วมกัน  นอกจากนี้  ยังส่งเสริมให้หาหนทางในการเปลี่ยนแปลงในระดับท้องถิ่นที่จะส่งผลต่อระดับโลก

*****   เนื้อหาสาระ ของโลกศึกษา…. ไม่ได้เกิดจากแนวคิดที่จำแนกองค์ความรู้ที่เป็นนามธรรม ….. หากแต่เกิดจากความต้องการและความจำเป็นที่เกิดขึ้น ปรากฏ และแสดงออกของมนุษย์  ได้แก่

***** .  การวิเคราะห์เหตุการณ์ และการพัฒนาที่เกิดขึ้นในจุดเล็กๆ     ที่เป็นความจริง ใกล้ตัวของผู้เรียน………การเลือกประเด็นเรื่องราวที่เฉพาะเจาะจง และสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ……..การกระตุ้นให้ตระหนักถึงความเชื่อมโยงเหตุการณ์ดังกล่าว  ในระดับท้องถิ่นกับระดับโลกในภาพกว้าง   และให้มีการอภิปราย   สนทนา   แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ดังกล่าว

เศรษฐศาสตร์

ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างและปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจในระดับชาติ รวมถึงบรรดานโยบายของรัฐที่ถูกใช้ไป เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อปรากฎการณ์ทางเศรษฐกิจ
หมายถึง ศาสตร์และวิชาการที่ว่าด้วยเรื่องราวหรือพฤติกรรมทางเศรษฐกิจในระดับกว้าง ซึ่งเป็นเรื่องราวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับส่วนรวมของประเทศในภูมิภาค จนถึงระดับโลก
ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค
1. ปัญหาการเติบโตอย่างมีดุลยภาพในระยะยาว
เศรษฐกิจเติบโตหรือไม่ ดูได้จาก Growth rate ของ GDP เทียบจากปีที่แล้ว เช่น ปีที่แล้ว GDP 105% ปีนี้ GDP 110% แสดงว่า GDP เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว
GDP ย่อมาจาก Gross Domestic Product หมายถึง มูลค่า (ราคาxจำนวน) ของสินค้าและบริการทุกชนิดที่ระบบเศรษฐกิจผลิตได้ในแต่ละรอบระยะเวลา โดยแบ่งรอบระยะเวลาเป็น รอบเล็กคือรายไตรมาส รอบใหญ่คือรายปี
GDP โตขึ้น ===>> ประเทศผลิตสินค้าได้มากขึ้น ===>> ประชากรก็มีกินมีใช้มากขึ้น

ถาม จำเป็นหรือไม่ที่ GDP ต้องโตขึ้น เพิ่มขึ้น
ตอบ ประเทศไทยมีประชากรในปี 2549 จำนวน 65 ล้านคน ถ้าในปี 2550 มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 70 ล้านคน แต่ GDP เท่าเดิม นั่นหมายความว่า ประชากรมีกินมีใช้น้อยลง
ปีนี้ GDP เพิ่มขึ้น 2% และ ประชากรก็เพิ่มขึ้น 2% แสดงว่า ประชากรมีกินมีใช้เท่าเดิม
ปีนี้ GDP เพิ่มขึ้น 2% และ ประชากรก็เพิ่มขึ้น 2% แต่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 3% แสดงว่า ประชากรจนล
ถาม ถ้า GDP โตมากๆ แสดงว่าสังคมจะต้องอยู่ดีมีสุขใช่หรือไม่
ตอบ GDP โตขึ้น แต่รายได้ที่เยอะๆ ไปรวมกันอยู่ที่ประชากรจำนวน 10 ล้านคน ประชากรที่เหลือ 55 ล้านคนก็ยากจนเหมือนเดิม เรียกว่า การกระจายรายได้ไม่ดี
ถ้า GDP โตขึ้น จากการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย หรือ จากการกู้ยืมเงิน ก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหน้า
เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีดุลยภาพ แปลว่า เศรษฐกิจเติบโตอย่างไม่มีปัญหาใดๆ ตามมา มีการเฉลี่ยผลประโยชน์กระจายอย่างเที่ยงธรรมทั่วถึงพอสมควรและไม่เติบโตอย่างล้างผลาญทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ เช่น อยากให้เศรษฐกิจโตมากๆ ก็ตัดไม้ไปขาย จับปลาขายจนหมด การเติบโตต้องสมดุลกันระหว่างปัจจุบันและในอนาคตนี้ด้วย และการเติบโตต้องไม่สร้างปัญหาในภาคต่างประเทศ เช่น ไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศมา
2. ปัญหาวัฎจักรเศรษฐกิจ
คือ ความผันแปร ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ มีภาระเจริญรุ่งเรือง ถดถอย ตกต่ำ ฟื้นตัว อยู่
วัฎจักรเศรษฐกิจ : เจริญรุ่งเรือง ฟื้นตัว ถดถอย ตกต่ำ

ปัญหาการว่างงาน
ทุกๆ คนมี 2 สถานะในเวลาเดียวกัน คือ
1. เป็น INPUT แรงงานถือเป็นปัจจัยในการผลิตที่ทำผลผลิตให้กับประเทศ
ปัจจัยในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ที่ดิน (รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนดิน ใต้ดิน ในน้ำ ในอากาศ) แรงงาน ทุน ผู้ประกอบการ
2. เป็น OUTPUT ทุกคนจำเป็นต้องกินต้องใช้
ดังนั้น ถ้าคนตกงาน ก็ถือว่า ไม่มี INPUT มีแต่ OUTPUT
ปัญหาการว่างงาน จึงถือเป็นปัญหาของประเทศในแง่ที่ว่า ประเทศจะสูญเสียสวัสดิการทางเศรษฐกิจ ประเทศสูญเสียโอกาสในการเจริญงอกงาม ในการพัฒนา ถ้ามีคนตกงานมากๆ ปัญหาทางเศรษฐกิจจะลุกลามไปเป็นปัญหาสังคม จนถึงปัญหาการเมือง
4. ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของระดับราคา
เสถียรภาพ หมายถึง ไม่นิ่ง
ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง สภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยเฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่แพงขึ้นเรื่อยๆ
ถาม ตัวเลขที่บอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อหรือไม่ ดูจากไหน
ตอบ ดูจาก ดัชนีราคา (Price Index) จาก กระทรวงพาณิชย์ คำนวณมาจากราคาสินค้าหลายร้อยชนิด
ถาม เงินเฟ้อไม่ดียังไง
ตอบ เพราะเมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น ผลของเงินเฟ้อทำให้ความมั่งคั่งของประชาชาติลดลง (จำนวนเงินที่ประชากรมีอยู่ทั้งหมด ซื้อของได้น้อยลง) เงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อในระบบเศรษฐกิจลดน้องลง ส่งผลให้หน่วยผลิตทั้งหลายลดการผลิตลง เมื่อหน่วยผลิตลดการผลิตลง ก็ต้องลดแรงงานลงเช่นกัน เงินเฟ้อยังกระทบต่อภาคต่างประเทศด้วย ทำให้ส่งออกได้น้อยลง ต้องลดการผลิตลง ค่า GDP ก็ลดลง
5. ปัญหาผลกระทบจากกระแสระบบโลกาภิวัตน์ (เช่น การเปิดการเงินเสรี การเปิดการค้าเสรี)
ตัวอย่าง IMF ต้องการให้ประเทศสมาชิกเปิดการเงินเสรีให้เงินไหลเข้า-ออกได้อย่างเต็มที่ แต่ประเทศกำลังพัฒนาสามารถใช้สิทธิ์ขอยกเว้นได้ เพื่อไม่ให้เงินไหลออกนอกประเทศจนหมด เมื่อปี 2533 ประเทศไทยเปิดการเงินเสรีอย่างเป็นทางการ ตามกระแสของโลกาภิวัตน์ ทำให้เงินตราต่างประเทศไหลเข้ามากมาย จนไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไร ก็นำไปลงทุนในที่ดิน ปั่นราคาที่ดินจนราคาขึ้นทั่วทั้งประเทศ หุ้นก็ขึ้นก็เช่นกัน ในปี 2540 ถึงเวลาคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย ก็ไม่สามารถชำระเงินได้ เกิดปัญหาจนต้องปล่อยให้ค่าเงินลอยตัว
โลกาภิวัตน์ ด้านการเปิดการค้าเสรี ภายใต้ WTO=World Trade Organization แบ่งเป็น
1. กระแสการค้าเสรีระดับ GLOBAL
2. กระแสการจับคู่ระหว่างสองประเทศ (FTA) เช่น FTA ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
การเปิด FTA มีทั้งคนได้ประโยชน์และคนเสียผลประโยชน์ เช่น เปิดกับจีน คนที่ปลูกหอมกระเทียมในภาคเหนือเจ๊ง แต่คนที่ปลูกยางในภาคใต้รวย ปัจจุบันกำลังเกิด Globalize ทางด้าน Technology
6. ปัญหามาตรฐานการดำรงชีพ
มาตรฐานการดำรงชีพ หมายถึง การกินดีอยู่ดี ครอบคลุมถึงความรู้การศึกษา
ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ก่อให้เกิด Productive ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน ทุน
2. เป็นผู้ประสานงาน ได้แก่ ผู้ประกอบการ
หน้าที่ของคนอีกหน้าที่หนึ่งคือ INPUT ปัจจัยการผลิต ที่เรียกว่า แรงงาน
การที่จะผลิตได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับที่ดิน แรงงาน ทุน
ที่ดินและทุน จะเพิ่มขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถของคน ก็คือ แรงงาน
7. ปัญหาการขาดดุลงบประมาณ และดุลการค้า
ดุลงบประมาณ หมายถึง รายรับ รายจ่ายประจำปีของรัฐบาลในแต่ละประเทศ
รายรับ-รายจ่ายเป็นได้ทั้งเกินดุล ขาดดุล สมดุล ซึ่งการขาดดุลการค้า ส่งผลให้เงินดอลลาร์ (เงินสกุลหลัก) ไหลออกนอกประเทศ ส่งผลต่อราคาการซื้อน้ำมัน
8. ปัญหาว่านโยบายเศรษฐกิจของภาครัฐจะสามารถปรับปรุงยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของชาติให้ดีขึ้นได้หรือไม่
ความเจริญงอกงามทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศขึ้นอยู่กับความเฮง เช่น ประเทศตั้งอยู่บนบ่อน้ำมัน ฯลฯ บวกกับ ความเก่งของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจที่ถูกทาง
ปัญหาเศรษฐกิจมหภาค นอกจากที่กล่าวมาแล้ว 8 ข้อยังมีอีกมากมาย เช่น ปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินแข็งอ่อน ปัญหาอัตราดอกเบี้ยสูงต่ำ ฯลฯ
จุดประสงค์การเรียน ท่านสามารถมองออกว่าประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจมหภาคอะไรบ้าง แล้วต้นตอเกิดจากอะไร และน่าจะมีทางออกตรงไหน
1. เรื่องของเศรษฐกิจในประเทศ คือราคาน้ำมัน สินค้าแพงขึ้น - อาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ
2. ปัญหาแรงงานเพิ่มมากขึ้น เช่น จำนวนบัณฑิตใหม่มีเพิ่มมากขึ้น และการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าว
3. ภัยที่เกิดจาก ซินามิ ทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวลดลง
4. ปัญหาเรื่องคู่แข่งทางการค้าของไทย และการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
5. ปัญหาความไม่สงบทางภาคใต้ของไทย
6. ปัญหาภัยแล้ง ทำให้มีผลกระทบต่อผลผลิตพืชผลทางการเกษตรลดลง
7. ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง
8. ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น
9. ปัญหายาเสพติด
10. ปัญหาจราจร
11. ปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
2. ดุลยภาพทั่วไปของระบบเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจมหภาคประกอบด้วย
1. ภาคการผลิต
10 ตัว 2. ภาคตลาดแรงงาน
เป็นส่วนหนึ่งใน ปัจจัยการผลิต
3 ตัว
3. ภาคการเงิน
คือ ตลาดการเงิน
8 ตัว 4. ภาคต่างประเทศ
3 หัวข้อ

1. ภาคการผลิต
ภาคการผลิตเป็นส่วนหนึ่งของภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector)
ภาคเศรษฐกิจแบ่งเป็น Real Sector และ Financial Sector
ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) หมายถึง ภาคการผลิต + ภาคตลาดแรงงาน
ภาคเศรษฐกิจจริง มีตัวเอกคือ รายได้ประชาชาติ และ ต้องการให้รายได้ประชาชาติอยู่ในฐานะที่มีสมดุลมีดุลยภาพ
รายได้ดุลยภาพเกิดจากเมื่อ
1. ตัวกระตุ้น ในระบบเศรษฐกิจเท่ากับ ส่วนรั่วไหล ของระบบเศรษฐกิจ
2. รายได้ ประชาชาติเท่ากับความต้องการ ใช้จ่าย ทั้งหมด
3. อุปสงค์ รวมของประเทศเท่ากับ อุปทาน รวมของประเทศ
ส่วนประกอบย่อยๆ ในภาคนี้ คือ
1. ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือน
2. รายจ่ายในการลงทุนของหน่วยธุรกิจ
3. รายจ่ายของภาครัฐบาลที่จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคและลงทุน
4. มูลค่าการส่งออก
5. มูลค่าการนำเข้า
6. การออมของหน่วยธุรกิจและครัวเรือน
7. การออมของรัฐบาล
8. อัตราภาษี
9. ระดับราคา
2. ภาคแรงงาน
ประกอบด้วยตัวหลัก 3 ตัว คือ
1. อุปสงค์ของแรงงาน
2. อุปทานของแรงงาน
3. อัตราค่าจ้างแรงงาน
เราต้องการให้ภาคแรงงานอยู่ในสภาวะที่สมดุล
ภาวะสมดุลของภาคแรงงานเกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์ของแรงงาน เท่ากับ อุปทานของแรงงาน และ เป็นภาวะดุลยภาพที่มีการจ้างงานอย่างเต็มที่
3. ภาคการเงิน
ประกอบด้วยตัวประกอบ 3 ตัว คือ
1. อุปทานของเงิน
2. อุปสงค์ของเงิน
3. อัตราดอกเบี้ย หรือ ค่า/ราคาของเงิน จะขึ้นอยู่กับอุปทานของเงิน และ อุปสงค์ของเงิน คือ ถ้าเงินมีเยอะ ดอกเบี้ยก็น้อย ถ้าเงินมีน้อย ดอกเบี้ยก็เยอะ)
ส่วนประกอบรองในภาคการเงิน ได้แก่
1. สถาบันการเงิน
2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ไว้ควบคุมสถาบันการเงิน)
3. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ (สำหรับระบบเปิดการเงินเสรี)
4. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
5. สถาบันการเงินระหว่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ยถูก เป็นผลดีต่อผู้กู้เงิน อัตราดอกเบี้ยแพง เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน
ค่าเงินสูง ค่าเงินต่ำ ก็เช่นกันมีทั้งกลุ่มคนที่ได้ประโยชน์และเสียผลประโยชน์
ภาวะสมดุลของภาคการเงินเกิดขึ้นเมื่อ อุปสงค์ของเงิน เท่ากับ อุปทานของเงิน
4. ภาคต่างประเทศ
ดุลยภาพในภาคต่างประเทศ หมายถึง สภาวะที่ดุลการชำระเงินมีความสมดุล พูดง่ายๆ ว่า มีสมดุลในการชำระเงิน ซึ่งในความเป็นจริงอยากเกินดุลมากกว่าสมดุล ในการที่ดุลการชำระเงินจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับ ดุลบัญชีเงินสะพัด และ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ
ดุลบัญชีเงินสะพัด (Current Account) ประกอบด้วย
1. ดุลการค้า มี 2 ด้าน ขายของให้ต่างประเทศก็รับ ซื้อของจากต่างประเทศก็จ่าย (รายได้ – รายจ่าย = ดุลการค้า)
2. ดุลบริการ มีทั้งรายรับ รายจ่ายเช่นกัน เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศ
3. ดุลรายได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดุลเงินโอน
ดุลรายได้ / ดุลเงินโอน = การที่คนไทยไปทำงานต่างประเทศแล้วโอนเงินเข้าประเทศ และการที่คนต่างชาติมาทำงานที่ประเทศไทยแล้วโอนเงินออกนอกประเทศ
4. ดุลเงินบริจาค = การช่วยเหลือระหว่างประเทศช่วยกันไปช่วยกันมา
การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ประกอบด้วย
1. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น เป็นการลงทุนในภาคการเงิน ได้แก่ เงินทุนที่เคลื่อนย้ายเข้าๆออกๆ เพื่อการซื้อขายหุ้น ฝากแบงค์เงินดอก เก็งกำไรซื้อขายเงิน
2. การเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะยาว (FDI = Foreign Direct Investment) เป็นการลงทุนในภาค Real Sector เช่น นำเงินจากต่างประเทศมาลงทุนสร้างโรงงาน
ดุลบัญชีเงินสะพัด + การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ คือ ดุลการชำระเงิน
ตัวการที่ทำให้ดุลบัญชีเงินสะพัด และ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศผันแปรคือ อัตราแลกเปลี่ยน
ดุลยภาพทั่วไป (General Equilibrium) หมายถึง สถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจเกิดดุลยภาพพร้อมๆ กันทั้ง 4 ส่วน
ดุลยภาพบางส่วน (Patient Equilibrium) หมายถึง สถานการณ์ที่ระบบเศรษฐกิจเกิดดุลยภาพเพียงบางส่วน
จุดประสงค์การเรียน
• สามารถรู้จักโครงสร้างของเศรษฐกิจมหภาคได้อย่างครบถ้วนถูกต้องในเนื้อหา
• สามารถรู้จักองค์ประกอบของเศรษฐกิจว่าประกอบด้วย 4 Sector และ รู้ว่าทั้ง 4 Sector เกี่ยวข้องกันอย่างไร
• สามารถวิเคราะห์เป็นส่วนๆ ทั้ง 4 Sector ได้ เช่น ถ้า Sector ที่ 1 – 4 ดี ก็สามารถบอกได้ว่าดี ถ้า Sector ที่ 1 ดี แต่ Sector ที่ 2 ไม่ดี และ Sector ที่ 3 มีแนวโน้มว่าจะแย่ ส่วน Sector ที่ 4 ทรงตัว แบบนี้ก็ต้องสามารถบอกได้ว่าไม่ดี
• สามารถบอกได้ว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยขณะนี้ดีหรือไม่ รู้ได้อย่างไรว่าดีหรือไม่ดีดูจากอะไร มีเหตุผลอย่างไร
• ประโยชน์ของการศึกษา 4 Sector และความสมดุล มีประโยชน์อย่างไร
3. ความเกี่ยวข้องระหว่างเศรษฐศาสตร์มหภาคกับการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน
เศรษฐกิจมหภาค ประกอบด้วย ภาคการผลิต(10ตัว) ภาคแรงงาน(3ตัว) ภาคการเงิน(8ตัว) และภาคต่างประเทศ(3หัวข้อ)
1. ภาคการผลิต เศรษฐกิจขาขึ้นขาลงแสดงออกรายได้ประชาชาติ เศรษฐกิจเติบโตถดถอยก็กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ การใช้จ่ายของครัวเรือนก็กระทบ การลงทุน ส่งออก การนำเข้า การออม ระดับเงินเฟ้อฝืด
2. ภาคแรงงาน แรงงานแพงถูกก็กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
3. ภาคการเงิน ดอกเบี้ยแพงดอกเบี้ยถูก เงินหาง่ายหายากก็กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
4. ภาคต่างประเทศ
ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในโลกปัจจุบัน มีเครื่องมือหนึ่งเรียกว่า “PEST ANALYSIS” คือ การวิเคราะห์จากองค์ประกอบ 4 ด้าน PEST
P = Political and Legal Factor ปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย
E = Economic Factor ปัจจัยทางด้านเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น Macro และ Micro
S = Social and Culture Factor ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม
T = Technologic ปัจจัยทางเทคโนโลยี
ถาม Political and Legal Factor คือปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย มีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร
ตอบ ราคาน้ำมันแพง เนื่องจากปัญหาการเมืองระหว่างมหาอำนาจกับผู้ผลิตน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก
กฎหมายโลก WTO ส่งผลต่อ FTA, ISO ก็เป็นผลจากกฎของโลก, รัฐบาลทะเลาะกัน, กฎหมายในประเทศก็กระทบระดับโลก จนถึง ระดับประเทศ
ถาม S = Social and Culture Factor ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม มีผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร
ตอบ ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้ เกิดจากปัญหาการเมืองและปัญหาทางด้านวัฒนธรรม
ค่านิยมก็มีผลกระทบ เช่น กระแสรักธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่ทำลายธรรมชาติก็ขายไม่ได้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วย เทคโนโลยีที่รักษาสิ่งแวดล้อมก็ได้รับการสนใจ 4 M + 2 T
T = Timing การทำธุรกิจต้องมีจังหวะเข้าถูกจังหวะ ออกถูกจังหวะ
T= Technology การรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ
ราคาที่ดินและบ้านจัดสรรในสุวรรณภูมิ คือ ปัญหาปัจจัย PES